ฉนวนกันความร้อน ราคา, ฉนวนโฟมชนิดพ่น, โฟมกันร้อน,P.U.FOAM,ฉนวนกันความร้อน,พี.ยู.โฟม กันความร้อนหลังคา ดาดฟ้า กันเสียง,Pu Foam, ฉนวนกันความร้อน,ฉนวนกันเสียง,ฉนวนโฟม, โฟม PU, Pu Foam, Pu Foam Phuket, พ่นโฟมกันความร้อน, โฟมกันเสียง, พ่นฉนวนกันความร้อน, พียู โฟม,รับพ่นโฟม,พ่นโฟม ภูเก็ต, พ่นโฟมกระบี่, พ่นโฟมพังงา, พ่นโฟมกระบี่,พ่นโฟมภาคใต้,บริษัทพ่นโฟมภาคใต้,โฟมคุณภาพ

ประโยชน์ของฉนวน P.U.FOAM

  หน้า ๑   19 พ.ย 2557    7,729 ครั้ง
ตัวอย่างงานพ่นของต่างประเทศ : ใช้ป้องกันความร้อนออกนอกบ้านป้องกันความหนาวเย็นจากหิมะเข้าในอาคาร  ในประเทศไทยป้องกันความร้อนส่งผ่านหลังคา ลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
 
-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-O-
 
ประโยชน์ของฉนวนความร้อนพียูโฟม หรือฉนวนพียูโฟม
 
ความหมายของฉนวนความร้อน

ฉนวนความร้อนมีความหมายเดียวกันกับฉนวนกันความร้อน เพียงแต่บาง ท่านก็เรียกสั้นๆว่าฉนวนความร้อน ซึ่งก็คือฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนป้องกันความร้อนนั่นเอง เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะความร้อนและการใช้เพื่ออนุรักษ์ พลังงานและการประหยัดพลังงาน  อากาศร้อนอบอ้าวภายในอาคารบ้านเรือนหรือโรงงาน จำเป็นที่ผู้อยู่อาศัยต้องป้องกันและต่อสู้เพื่อลดภาวะความร้อน หรือใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในห้องให้อยู่ในสภาพอากาศที่ เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิภายในห้องร้อน สูงขึ้นความร้อนจะถูกดึงออกมาเพื่อให้อุณหภูมิลดลง เรียกว่าการทำความเย็น เครื่องมือที่ใช้ควบคุมหรือปรับอุณหภูมิ ภายในอาคาร บ้านเรือน หรือโรงงาน ให้มีภาวะอากาศอยู่อย่างสบาย ก็คือเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ (air conditione) ดังนั้นเครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างมาก การใช้เครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องแลกกับค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานไฟฟ้าอย่าง สูงเหมือนกันหลักการทำงาน ของเครื่องปรับอากาศคือ ดูดซับความร้อนออกจากห้อง ยิ่งห้องที่มีอุณหภูมิสูง เครื่องปรับอากาศก็ยิ่งทำงานหนักขึ้นและยิ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก ยิ่งขึ้น การใช้วัสดุประเภทฉนวนกันความร้อน เป็นวิถีทางหนึ่งในการลดความสูญเสียพลังงานที่ใช้ และเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด เนื่องจากสามารถช่วยลดพลังงานความร้อน และรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมบนโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้อาคารและที่พักอาศัยโดยทั่วไปมีการติดตั้งฉนวนความร้อนเพื่อควบคุม อุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ลักษณะของฉนวนความร้อนมีหลายลักษณะ เช่น เป็นม้วน, เป็นแผ่น, เป็นฝอย เป็นต้น ฉนวนความร้อนมีคุณสมบัติเป็นวัสดุที่ป้องกันการส่งผ่านพลังงานความร้อนจาก ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ฉนวนความร้อนที่ดีจะต้องเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ภายในวัสดุประกอบด้วยฟองอากาศเล็กๆ เป็นจำนวนมาก ฟองอากาศดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นตัวต้านทานการนำความร้อนโดยการกักเก็บพลังงานความร้อนที่ไหลผ่านไว้ภายในทำให้ไม่เกิดการส่งผ่านพลังงานความร้อน การป้องกันการส่งผ่านพลังงานความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในโดยวิธีนี้ ส่งผลให้อุณหภูมิภายในอาคารและที่พักอาศัยลดลง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดเครื่องปรับ อากาศ หากความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานมาก พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต้องมากขึ้นด้วย เมื่อมีการบุฉนวนความร้อน ทำให้อุณหภูมิภายในอาคารและที่พักอาศัยลดลงเครื่องปรับอากาศก็จะทำงานน้อยลง เป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกทาง

ฉนวนความร้อนในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด เช่น ฉนวนใยแก้ว (Fiber glass),ฉนวนเยื่อกระดาษ (Cellulose), ยิบซั่มบอร์ด, แผ่นสะท้อนความร้อน (Aluminium foil), ยิบซั่มบอร์ดรวมกับแผ่นสะท้อนความร้อน, เซรามิกเคลือบผิว, ฉนวนโฟมพอลิยูรีเทน (Polyurethane foam) ฉนวนโฟมพอลิเอทิลีน (Polyethylene foam) ฉนวนโฟมพอลิสไตรีน (Polystyrene foam) เป็นต้น

การเลือกใช้งานฉนวนกันความร้อน ควรพิจารณาจากประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อน (ค่าR) มีหน่วยเป็น ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์ (Thermal resistance – R value, m2K/W) สภาพการนำความร้อน (ค่า K) มีหน่วยเป็น วัตต์ต่อเมตร-องศาเคลวิน (Thermal conductivity – K value, W/m.K) ซึ่งฉนวนความร้อนที่ดีต้องมีค่าความต้านทานความร้อนสูง สัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนต่ำนอกจากนั้นความพิจารณาถึงความจำเป็นในการ ติดตั้งของแต่ละสถานที่และช่วงอุณหภูมิในการใช้งานของสถานนั้นๆ รวมถึง ลักษณะการติดตั้ง ราคาค่าติดตั้ง การยืดตัวและการหดตัวของฉนวนความร้อนเมื่อได้รับความร้อน

โดยธรรมชาติแล้ว ความร้อนจะเคลื่อนที่จากที่อุณหภูมิสูง ไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเสมอ หลักการทำงานของฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนความร้อนก็คือ ทำหน้าที่ชะลอการเคลื่อนที่ของความร้อนนี้ ซึ่งวัสดุฉนวนกันความร้อน ที่ใช้งานกันทั่วไปได้แก่ อลูมิเนียมฟอยล์  พียูโฟม ใยแก้ว และใยหิน ฯลฯ แต่ก่อนที่เราจะทำการเลือกวัสดุฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนความร้อน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ต่างๆ โรงงาน เราน่าจะมาทำความรู้จักกับ คุณลักษณะเฉพาะของวัสดุฉนวนกันความร้อนหรือฉนวนความร้อนแต่ละชนิดกัน


วัสดุฉนวนความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ จะมีความมันวาวของผิวแผ่นฟอยล์ มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อน ข้อดีคือทนความชื้น ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ ไม่ฉีกขาดง่าย

วัสดุฉนวนความร้อนแบบโฟม เช่น โฟมพอลิเอทิลีน โฟมโพลียูรีเทนหรือพียูโฟมมีข้อดีคือ สามารถคงสภาพเพิมได้แม้จะโดนน้ำหรือความชื้น ทนทานต่อกรดและด่าง น้ำหนักเบา แข็งแรง วัสดุฉนวนความร้อนใยแก้ว หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า ไมโครไฟเบอร์ มีโพรงอากาศเล็กๆ จำนวนมหาศาล ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างเส้นใยแก้ว จะทำหน้าเก็บกักความร้อนไว้ และลดการส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง นอกจากนี้โพรงอากาศเล็กๆ เหล่านั้นสามารถลดทอน พลังงานเสียงที่ผ่านเข้ามาให้เหลือพลังงาน ที่สะท้อนออกไปน้อยลง วัสดุฉนวนความร้อนใยแก้วจัดเป็น ฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียงที่มีประสิทธิภาพ มีความอ่อนตัว และคืนตัวดี สามารถทนไฟได้ประมาณ 300 องศาเซลเซียส ปัจจุบันยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า ใยแก้วเป็นอันตราย ต่อสุขภาพหรือไม่ จึงยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป


วัสดุฉนวนความร้อนใยหิน จัดเป็นเส้นใยจากธรรมชาติที่ไม่มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) จึงปลอดภัยต่อสุขภาพ คุณสมบัติในการกันความร้อน และดูดซับเสียง เทียบเท่ากับฉนวนความร้อนใยแก้ว แต่สามารถทนไฟได้ดีกว่า ทั้งวัสดุฉนวนชนิดใยแก้ว และใยหิน มีข้อด้อยคือไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น
 

ฉนวนความร้อนประเภทโฟม ซึ่งมีหลายชนิดหลายประเภท

    โฟมโพลียูรีเทน หรือพียูโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับฉนวนชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไปฉนวนพียูโฟมจะไม่ดูดซับความชื้น แต่เนื่องจากโฟมมีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อโดนความร้อนสูงเป็นเวลานาน ๆ โฟมจะเปลี่ยนรูป เช่น บิดงอ บุบสลาย หรือไหม้ไปในที่สุด แต่ในบ้านเราทั่ว ๆ ไป มักจะไม่มีอุณหภูมิสูงถึงระดับนั้น ยกเว้นกรณีที่มีการนำฉนวนพียูโฟมไปใช้บุหลังกระจกโดยตรง เช่น กระจกหน้าต่างจะทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งฉนวนพียูโฟมไม่สามารถคงสภาพเดิมเอาไว้ได้ นอกจากนี้มีความจำเป็นต้องป้องกันการถูกทำลายเนื่องจากรังสีอัตราไวโอเลต (UV) จากรังสีดวงอาทิตย์
 

สนใจพ่นฉนวนกันความร้อน พี.ยู.โฟม
ติดต่อ 08-4848 4949
แอดไลน์ ID : @095jfocc

 

Comment on Facebook